Washington State Food Worker Manual
Developed in cooperation with Tacoma-Pierce County Health Department.
ขอบคุณที่มีบทบาทอย่างแข็งขันในด้านความปลอดภัยของอาหาร
ข้อมูลในคู่มือฉบับนี้จะช่วยให้คุณจัดเก็บ เตรียม และเสิร์ฟอาหารอย่างปลอดภัยความรู้ด้านความปลอดภัยของอาหารป้องกันไม่ให้เกิดการเจ็บป่วยจากอาหาร ใช้สิ่งที่คุณเรียนรู้จากคู่มือฉบับนี้ในที่ทำงานและที่บ้าน
หลังจากที่คุณอ่านคู่มือฉบับนี้แล้ว เราหวังว่าคุณจะจดจำเคล็ดลับต่อไปนี้ได้
- อย่าทำงานเมื่อคุณป่วย.
- ล้างมือของคุณให้สะอาดและเมื่อจำเป็น
- ห้ามสัมผัสอาหารพร้อมรับประทานด้วยมือเปล่า
- รักษาอาหารให้ร้อนหรือเย็น
- ปรุงอาหารด้วยอุณหภูมิที่ถูกต้อง
- ทำให้อาหารที่ร้อนเย็นลงอย่างรวดเร็ว
- แยกเนื้อดิบให้ห่างจากอาหารอื่นๆ
- ทำความสะอาดและฆ่าเชื้ออุปกรณ์ทำอาหารและดูแลสถานที่ของคุณให้สะอาดอยู่เสมอ
- รับอาหารจากแหล่งอาหารหรือซัพพลายเออร์ที่ปลอดภัยเสมอ
- เรียนรู้และตั้งคำถามเสมอ
การเจ็บป่วยจากอาหาร
ผู้คนเจ็บป่วยด้วยโรคที่เกิดจากอาหารเมื่อรับประทานอาหารที่มีเชื้อโรคอันตรายอยู่ภายใน เชื้อโรคเข้าสู่อาหารได้ทุกเวลา สิ่งสำคัญก็คือ ต้องเรียนรู้วิธีจัดการกับอาหารอย่างปลอดภัยเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดการเจ็บป่วยจากอาหาร
อาการ
โรคที่เกิดจากอาหารบางชนิดทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น
ท้องเสีย
อาเจียน
ไข้
อาการอาจรุนแรงมาก และทำให้คนต้องไปโรงพยาบาลหรือเสียชีวิต เด็ก ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ และผู้ที่เจ็บป่วยเรื้อรังมักจะป่วยอย่างรุนแรง
อยู่บ้านถ้าคุณรู้สึกไม่สบาย
อย่าทำงานกับอาหารเมื่อคุณป่วย พนักงานด้านอาหารที่ป่วยสามารถแพร่เชื้อโรคไปสู่อาหาร พื้นผิว เครื่องใช้ และบุคคลอื่นได้
คุณมีอาการ
ท้องเสียหรืออาเจียนหรือไม่ | ผิวหรือตาเหลืองหรือไม่ |
---|---|
อย่าทำงานใกล้อาหารจนกว่าคุณจะไม่มีอาการเป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง | อยู่บ้านและพบ แพทย์ . |
อย่าไปทำงงานถ้าคุณมีอาการ:
- ไวรัสตับอักเสบเอ
- ซาลโมเนลลา
- ชิเกลลา
- อี. โคไล
- โนโรไวรัส
โรคที่เกิดจากอาหารเป็นเรื่องที่พบบ่อยมาก
จำนวนกรณีของโรคที่เกิดจากอาหารต่อปี:
กรณีการรักษาในโรงพยาบาลจากความเจ็บป่วยที่เกิดจากอาหารต่อปี:
กรณีการเสียชีวิตจากการเจ็บป่วยที่เกิดจากอาหารต่อปี:
แหล่งข้อมูล: CDC
รายงานความเจ็บป่วยจากอาหาร
กรณีการเจ็บป่วยส่วนใหญ่ไม่ได้รับการรายงาน รายงานความเจ็บป่วยที่เกิดจากอาหารไปยังกรมอนามัยในพื้นที่ของคุณทันที พวกเขาจะช่วยทำให้แน่ใจว่าจะไม่มีคนอื่นมา ป่วยเพิ่ม
การป้องกันการเจ็บป่วยจากอาหาร
การทำให้อาหารมีความปลอดภัยต้องมีการวางแผน วางแผนวิธีการจัดเก็บ จัดเตรียม และจัดการอาหารอย่างปลอดภัย
การควบคุมการจัดการเชิงรุก
สิ่งนี้เป็นแนวทางเชิงรุกเพื่อทำให้อาหารมีความปลอดภัย ผู้จัดการจะต้องสร้างขั้นตอนการทำงาน ฝึกอบรมพนักงาน และตรวจสอบว่าอาหารมีความปลอดภัย
ตัวอย่าง ได้แก่
- ตรวจสอบคนงานด้านอาหารที่ป่วยและนำพวกเขาออกจากสถานประกอบการ
- ฝึกอบรมพนักงานให้ปรุงอาหาร ทำความเย็น และจัดเก็บอาหารอย่างปลอดภัย
- สอนพนักงานว่าควรล้างมือเมื่อใดและอย่างไร
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าพนักงานไม่สัมผัสอาหารด้วยมือเปล่า
- ทำบันทึกอุณหภูมิและตรวจสอบอุณหภูมิของอาหาร
- ตัดสินใจว่าใครจะบันทึกอุณหภูมิและจะบันทึกเมื่อใด
- กำหนดสถานที่เตรียมอาหารดิบ
- เรียกให้ช่างมาซ่อมแซมและแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาด
- ทำแผนทำความสะอาดหลังจากมีคนอาเจียนหรือท้องเสีย
ทุกคนมีหน้าที่รับผิดชอบต่อความปลอดภัยของอาหาร แต่คุณต้องมีใครสักคนเพื่อให้แน่ใจว่าเรื่องนี้ได้รับการให้ความสำคัญ
ผู้รับผิดชอบ
สถานประกอบการด้านอาหารทุกแห่งต้องมีผู้รับผิดชอบ พวกเขาจะตรวจสอบว่าอาหารถูกจัดเตรียมอย่างปลอดภัย
ผู้รับผิดชอบ:
- ต้องอยู่ในขณะที่คุณกำลังทำงาน
- ซึ่งมีความรู้และได้รับการฝึกอบรมเพื่อให้แน่ใจว่าอาหารมีความปลอดภัย
- ตรวจสอบว่าพนักงานปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของอาหาร
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีใครทำงานกับอาหารเมื่อป่วย
- ตอบคำถามต่าง ๆ ของพนักงาน
ผู้จัดการฝ่ายปกป้องอาหารที่ผ่านการรับรอง
ทำงานร่วมกับผู้จัดการฝ่ายปกป้องอาหารที่ผ่านการรับรอง พวกเขาได้รับการฝึกอบรมเพิ่มเติมและมีใบรับรองการจัดการเพื่อความปลอดภัยของอาหาร พวกเขาจะช่วยงานผู้ที่รับผิดชอบ เมื่อทำงานร่วมกัน พวกเขาจะช่วยกันฝึกฝน ตรวจสอบ และสร้างวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดการเจ็บป่วยจากอาหาร
สามารถเรียกผู้ที่รับผิดชอบว่า PIC ได้
สุขภาพของคนทำงานด้านอาหาร
การที่คนทำงานด้านอาหารมีสุขภาพแข็งแรงจะช่วยป้องกันการเจ็บป่วยที่เกิดจากอาหาร อย่าทำงานกับอาหารหากคุณรู้สึกไม่สบาย คุณสามารถแพร่เชื้อโรคสู่อาหารและผอื่นได้
อย่าไปทำงงานถ้าคุณมีอาการ:
- ท้องร่วง อาเจียน หรือโรคดีซ่าน
- เชื้อซาโมเนลลา, ชิเกลลา, อี. โคไล, ตับอักเสบ เอ หรือ โนโรไวรัส
- Aเจ็บคอและเป็นไข้ โดยต้องทำงานกับกลุ่มคนที่เสี่ยงได้รับผลกระทบสูง
อย่าไปทำงานจนกว่าอาการอาเจียนและท้องเสียจะหายไปเป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
โทรติดต่อกรมอนามัยหากคุณได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยหรือเป็นโรคดีซ่าน
อย่าทำงานกับอาหารหรือสิ่งที่สัมผัสอาหารหากคุณมี:
- แผลติดเชื้อที่คุณไม่สามารถปิดแผลได้
- จาม ไอ หรือน้ำมูกไหล
- เจ็บคอและเป็นไข้
- เคยอยู่ใกล้คนที่เจ็บป่วยจากอาหาร โดยคุณต้องทำงานกับกลุ่มคนที่เสี่ยงได้รับผลกระทบสูง
คุณสามารถทำงาน เช่น:
- ทิ้งขยะ
- กวาดพื้น
- ถูพื้น
- ล้างห้องน้ำ
สุขอนามัยส่วนบุคคล
คนทำงานด้านอาหารสามารถแพร่เชื้อสู่อาหารได้แม้ว่าจะดูมีสุขภาพดีและรู้สึกสบายดีก็ตาม ป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่อาหารด้วยสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ดี
เคล็ดลับเพื่อสุขอนามัยที่ดี:
- อย่าทำงานกับอาหารเมื่อคุณป่วย
- ล้างมือของคุณบ่อย ๆ
- ใช้อุปกรณ์หรือถุงมือที่สะอาดในการจัดการอาหาร
- ตัดเล็บและทำความสะอาดเล็บ
- สวมเสื้อผ้าที่สะอาด
- มัดผมไว้ด้านหลัง ทำผมให้สั้น หรือคลุมด้วยตาข่ายคลุมผม
- อย่าสวมผ้ากันเปื้อนหรือถุงมือเข้าห้องน้ำ
- ปิดแผล รอยไหม้ หรือผื่นที่มือด้วยผ้าพันแผลและถุงมือแบบใช้แล้วทิ้ง
กลุ่มคนที่มีเสี่ยงได้รับผลกระทบสูง
ใครๆ ก็ป่วยจากอาหารได้ แต่บางคนก็มีโอกาสมากกว่าคนอื่นๆ
ซึ่งรวมถึงผู้ที่:
อายุน้อย
อายุมาก
ตั้งครรภ์
ภูมิคุ้มกันต่ำจากโรคต่าง ๆ เช่นมะเร็ง เบาหวาน หรือเอดส์
ดูแลกลุ่มคนที่มีเสี่ยงได้รับผลกระทบสูงให้เป็นพิเศษ ที่:
- โรงพยาบาล
- เด็กก่อนวัยเรียน
- บ้านพักคนชรา
กลุ่มคนที่มีเสี่ยงได้รับผลกระทบสูงไม่ควรรับประทานอาหาร ดังนี้
- เนื้อ เนื้อปลา หรือไข่ที่ปรุงไม่สุก
- หอยนางรมดิบ
- ถั่วงอกดิบ
- นมหรือน้ำผลไม้ที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อ
อันตรายในอาหาร
อาหารอาจทำให้เราป่วยได้หากมีการปนเปื้อนจากเชื้อโรค สารเคมี หรืออันตรายทางกายภาพอื่น ๆ ลดความเสี่ยงด้วยการเรียนรู้เพื่อจัดการอาหารอย่างปลอดภัย
การปนเปื้อนทางชีวภาพ
เชื้อโรค เช่น แบคทีเรีย ไวรัส และปรสิตสามารถทำให้เราป่วยได้ เมื่อผู้คนพูดถึงโรคหวัดลงกระเพาะ หรือไข้หวัดใหญ่ 24 ชั่วโมง นี่คือความเจ็บป่วยที่เกิดจากอาหาร อาการที่พบบ่อยได้แก่ อาเจียน ท้องร่วง ปวดท้อง และมีไข้ อาการสามารถเกิดขึ้นได้ภายในสองสามชั่วโมงถึงหลายสัปดาห์หลังรับประทานอาหาร
แบคทีเรีย
แบคทีเรียอาจมาจากอาหาร อุปกรณ์ หรือผู้คน คนงานด้านอาหารต้องมีความระมัดระวัง แบคทีเรียเติบโตได้ง่ายในอาหารด้วยสารอาหาร ความชื้น อุณหภูมิ และเวลาที่เหมาะสม เก็บอาหารให้ร้อนหรือเย็น ทำงานอย่างรวดเร็ว และล้างมือของคุณให้สะอาด ใช้อุปกรณ์หรือถุงมือในการทำงานกับอาหารพร้อมรับประทาน
ไวรัส
ไวรัสมีขนาดเล็กและใช้เวลาเพียงไม่นานในการทำให้คุณป่วย ไวรัส เช่น โนโรไวรัส หรือไวรัสตับอักเสบเอ แพร่กระจายโดย:
- พนักงานขายอาหารที่ป่วย
- ล้างมือไม่สะอาด
- สัมผัสอาหารด้วยมือเปล่า
ไวรัสบางชนิดสามารถติดมือได้แม้จะล้างมือให้สะอาดแล้ว คุณสามารถแพร่เชื้อไวรัสได้แม้ว่าคุณจะไม่รู้สึกป่วยก็ตาม ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่ต้องใช้อุปกรณ์หรือสวมถุงมือเพื่อจัดการกับอาหารพร้อมรับประทาน
ปรสิต
ปรสิตเป็นพยาธิหรือก้อนไขมันขนาดเล็ก พวกมันอยู่ในเนื้อปลา เนื้อสัตว์ อาหารอื่น ๆ หรือน้ำที่ปนเปื้อน ฆ่าปรสิต โดยการปรุงอาหารในอุณหภูมิที่เหมาะสม ปรสิตส่วนใหญ่จะตายเมื่อถูกแช่แข็งในอุณหภูมิที่เย็นจัดเป็นเวลานาน
การปนเปื้อนสารเคมี
สารเคมีอาจทำให้คุณป่วยได้หากไปอยู่ในอาหาร เก็บสารเคมี เช่น สบู่ น้ำยาทำความสะอาด และน้ำยาฆ่าเชื้ออย่างปลอดภัย เก็บสารเคมีไว้ใต้อาหารและพื้นผิวที่ทำงาน ไม่ควรให้สารเคมีหยดลงในอาหารหรือบนพื้นผิวที่ทำงาน
ติดฉลากสารเคมีและปฏิบัติตามคำแนะนำด้วยความระมัดระวัง
ปกป้องอาหารเมื่อคุณทำความสะอาด เก็บเฉพาะสารเคมีที่จำเป็นสำหรับคุณ
ติดต่อบริษัทกำจัดสัตว์รบกวนที่ได้รับอนุญาตเพื่อรับความช่วยเหลือเกี่ยวกับปัญหาสัตว์รบกวน
อย่าใช้ยาฆ่าแมลงแบบใช้ที่บ้าน
ใช้ภาชนะที่ปลอดภัยสำหรับอาหารเท่านั้น
ห้ามใช้ถุงจากร้านขายของชำ กระป๋องชุบสังกะสีหรือทองแดง ห้ามใช้ภาชนะที่บรรจุสารเคมีซ้ำ สารเคมีอาจเข้าไปอยู่ในอาหารได้
อันตรายทางกายภาพ
อันตรายทางกายภาพคือวัตถุในอาหารที่อาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บหากรับประทานเข้าไป ตัวอย่างเช่น เศษแก้วแตก เครื่องประดับ ผ้าพันแผล เศษโลหะ และเล็บมือ
เคล็ดลับในการทำให้อาหารให้ปลอดภัยจากอันตรายทางกายภาพ:
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าสิ่งของต่างๆ จะไม่ตกลงไปในอาหารได้
- ตรวจสอบอุปกรณ์ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีชิ้นส่วนที่หลวมหรือหัก
- ทิ้งแปรงและอุปกรณ์สำหรับย่างออกหากพบว่ามีลักษณะสึกหรอ
- อย่าสวมเครื่องประดับ คุณสามารถสวมแหวนวงเดียวหรือชุดเครื่องประดับสำหรับเจ้าสาว แต่ต้องใส่ถุงมือ
- ปิดเล็บปลอมด้วยถุงมือ
- ใช้ที่ตักน้ำแข็งเสมอ ห้ามตักน้ำแข็งด้วย แก้ว
- ดูแลอาหารที่คุณเตรียมด้วยความระมัดระวังที่สุด
- ตรวจสอบผักและผลไม้ด้วยความระมัดระวัง
เคล็ดลับในการรักษาอาหารให้ปลอดภัย:
- อย่าทำงานเมื่อคุณป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีอาการอาเจียน ท้องเสีย หรือมีไข้
- อย่าสัมผัสอาหารพร้อมรับประทาน* ด้วยมือเปล่า ใช้ที่คีบ ช้อนส้อม หรือถุงมือ
- Kเก็บอาหารให้ร้อนที่อุณหภูมิ 135 °F หรือสูงกว่า หรือเย็นที่ 41 °F หรือต่ำกว่า
- ทำงานให้เร็วและไม่ทิ้งอาหารไว้ข้างนอก
- ทำให้อาหารเย็นและร้อนอย่างรวดเร็ว
- ปรุงเนื้อปลาและเนื้อสัตว์ทั้งหมดในอุณหภูมิที่เหมาะสม
- ใช้ปลาที่ถูกแช่แข็งเพื่อฆ่าปรสิตสำหรับอาหารดิบเช่นซูชิ
- ล้างมือให้สะอาดหลังที่คุณใช้ห้องน้ำและก่อนที่คุณจะเข้าครัว
- ล้างวัตถุดิบด้วยน้ำสะอาด
- เก็บอาหารดิบและอาหารพร้อมรับประทาน* แยกจากกัน
- ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อพื้นผิว
- ใช้แหล่งน้ำที่ได้รับการรับรอง
*อาหารพร้อมรับประทานสามารถรับประทานได้โดยไม่ต้องล้างหรือปรุงอาหารเพื่อกำจัดเชื้อโรค
การควบคุมอุณหภูมิเพื่อให้อาหารมีความปลอดภัย
อาหารชนิดใดก็ตามสามารถทำให้เกิดโรคที่เกิดจากอาหารได้ แต่แบคทีเรียมีแนวโน้มที่จะเติบโตในอาหารบางชนิด สิ่งเหล่านี้เรียกว่าการควบคุมอุณหภูมิเพื่อให้อาหารมีความปลอดภัย (TCS) เก็บอาหารเหล่านี้ให้ร้อนหรือเย็นเพื่อไม่ให้แบคทีเรียเติบโต
ตัวอย่างการควบคุมอุณหภูมิเพื่อให้อาหารมีความปลอดภัย (TCS):
- เนื้อสัตว์ สัตว์ปีก ปลา อาหารทะเล และไข่
- ผลิตภัณฑ์จากนม
- เต้าหู้
- ถั่วต้ม มันฝรั่ง ข้าว พาสต้า และเส้นก๋วยเตี๋ยว
- ผักและผลไม้ปรุงสุก
- เมล่อนตัดแบ่ง
- ผักใบเขียวตัดแบ่ง
- มันฝรั่งตัดแบ่ง
- ต้นอ่อน เช่น อัลฟาฟา หรือถั่วงอก
- กระเทียมสดหรือสมุนไพรในน้ำมัน
- เนยวิป
จะต้องพิจารณาถึงเวลาและอุณหภูมิร่วมกันเพื่อทำให้อาหารมีความปลอดภัย
เรียนรู้วิธีการใช้เวลาเพื่อทำให้อาหารมีความปลอดภัย ทำงานร่วมกับผู้จัดการการปกป้องอาหารที่ได้รับการรับรอง เพื่อรับ ข้อมูลเพิ่มเติม
ช่วงอันตราย
แบคทีเรียเติบโตได้ดีที่สุดในอุณหภูมิระหว่าง 41°F ถึง 135°F ช่วงอุณหภูมินี้เรียกว่าช่วงอันตราย ตามการควบคุมอุณหภูมิเพื่อให้อาหารมีความปลอดภัย (TCS) อาหารที่ทิ้งไว้ในช่วงอันตรายนี้ จะทำให้แบคทีเรียบเติบโตเร็ว แบคทีเรียบางชนิดผลิตสารพิษที่ทำให้คนป่วย สารพิษจะคงอยู่ในอาหารแม้ว่าจะปรุงสุกแล้วก็ตาม
เคล็ดลับในการรักษาอาหารให้ปลอดภัย:
- ทำให้อาหารเย็นที่อุณหภูมิ 41°F หรือเย็นกว่านั้น.
- ทำให้อาหารร้อนที่อุณหภูมิ 135 องศาฟาเรนไฮต์หรือสูงกว่านั้น
- จัดเตรียมอาหารอย่างรวดเร็ว
- ทำอาหารในปริมาณน้อย ๆ ในแต่ละครั้ง
- ทำให้อาหารเย็นลงในตู้เย็นอย่างรวดเร็ว อย่าปล่อยให้เย็นที่เคาท์เตอร์
- อุ่นอาหารซ้ำอย่างรวดเร็ว
- ตรวจสอบอุณหภูมิของอาหารด้วยเทอร์โมมิเตอร์
การล้างมือ
วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคที่เกิดจากอาหารคือการล้างมือของคุณ เชื้อโรคที่มือของคุณสามารถเข้าไปอยู่ในอาหารได้หากคุณไม่ล้างมือของคุณอย่างถูกต้อง คุณไม่สามารถมองเห็นเชื้อโรคได้ด้วยตาของคุณ คุณจึงสามารถแพร่เชื้อโรคได้แม้ว่ามือของคุณจะดูสะอาด
Wล้างมือของคุณบ่อย ๆ
ล้างมือของคุณหลังจากที่คุณ:
- ใช้ห้องน้ำ
- เข้าครัว
- สัมผัสกับเนื้อ อาหารทะเล สัตว์ปีก หรือไข่ดิบ
- สัมผัสกับผมหรือใบหน้าของคุณ
- ไอหรือจาม
- จัดการกับขยะ จานที่สกปรก เงิน หรือสารเคมี
- รับประทาน ดื่ม หรือสูบบุหรี่
- หยุดพัก หรือใช้โทรศัพท์ของคุณ
เจลล้างมือ
ห้ามใช้เจลล้างมือแทนการล้างมือ คุณสามารถใช้เจลล้างมือหลังจากล้างมือของคุณแล้ว
ตัดเล็บให้ง่ายต่อการทำความสะอาด สวมถุงมือทับเล็บที่ทาสีหรือเล็บปลอมเพื่อจัดเตรียมอาหาร ตัวอย่างเช่น สวมถุงมือเพื่อคนซุปหากคุณมีเล็บปลอม
ล้างมือของคุณอย่างไร
ล้างมือของคุณในอ่างล้างมือเท่านั้น อย่าล้างมือในอ่างเตรียมอาหาร หรืออ่างล้างจานที่มี 3 ช่อง
ทำตามขั้นตอนเหล่านี้เพื่อล้างมือของคุณ
Fตั้งแต่เริ่มล้างมือจนเสร็จ ควรใช้เวลาอย่างน้อย 20 วินาที
การสัมผัสด้วยมือเปล่า
อย่าสัมผัสอาหารด้วยมือเปล่า แม้ว่าจะล้างมืออย่างดี เชื้อโรคบางชนิดยังคงติดมือและไปอยู่ในอาหารได้
อาหารพร้อมรับประทาน
อาหารพร้อมรับประทานสามารถรับประทานได้โดยไม่ต้องล้าง หรือปรุงอาหารเพื่อกำจัดเชื้อโรค ตัวอย่าง:
-
ล้างผักและผลไม้ที่จะไม่ปรุงสุก
เช่น ผลไม้หั่น สลัด ผักดอง และสิ่งที่ใช้ตกแต่งเครื่องดื่ม
-
เบเกอรี่หรือขนมปัง
เช่น ขนมปังปิ้ง เค้ก คุกกี้ และตอร์ตีญา
-
อาหารที่ปรุงสุก
เช่น พิซซ่า แฮมเบอร์เกอร์ ฮอทดอก และทาโก้
-
อาหารที่จะไม่ปรุงสุก
เช่น แซนวิช ซูชิ เนื้อแปรรูป และน้ำแข็งสำหรับเครื่องดื่ม
ใช้ถุงมือ ที่คีบ ช้อนตัก กระดาษรองอาหาร หรืออุปกรณ์อื่นๆ เพื่อจัดการกับอาหารพร้อมรับประทาน
ตัวอย่างเช่น ใช้ที่คีบสำหรับสลัดและกระดาษรองอาหารเพื่อหยิบคุกกี้ สวมถุงมือเพื่อทำแซนวิช เตรียมซูชิ หรือหั่นผัก
ถุงมือ
มือที่สกปรกอาจทำให้มีเชื้อโรคนอกถุงมือได้ ถุงมือใช้ปกป้องอาหารจากเชื้อโรค ไม่ใช่เพื่อป้องกันมือของคุณจากอาหาร
จำกฎเหล่านี้สำหรับการใช้ถุงมือ:
- ล้างมือก่อนสวมถุงมือ
- ใช้ถุงมือแบบใช้แล้วทิ้งเท่านั้น
- Nห้ามล้างหรือใช้ถุงมือซ้ำ
- ทิ้งถุงมือหลังใช้งาน
- เปลี่ยนถุงมือหากขาด
- เปลี่ยนถุงมือหากอาจมีการปนเปื้อน
- ถอดถุงมือและล้างมือหลังจากทำงานกับอาหารดิบ
- ใช้ถุงมือเพื่อปิดบาดแผล ผื่น หรือผ้าพันแผล
ลดขยะ หากคุณใช้อุปกรณ์ เช่น ที่คีบ หรือช้อนตัก คุณไม่จำเป็นต้องสวมถุงมือ
การปรุงอาหาร
เชื้อโรคที่เป็นอันตรายอยู่ในเนื้อดิบ เนื้อสัตว์ปีก อาหารทะเล และไข่ การปรุงอาหารอย่างเหมาะสมจะฆ่าเชื้อโรคและทำให้อาหารเหล่านี้ปลอดภัยในการรับประทาน
อุณหภูมิในการปรุงอาหาร
135°F
- ผัก ผลไม้ สมุนไพร และธัญพืชที่จะต้องเก็บด้วยความร้อน
- บรรจุอาหารพร้อมรับประทาน เช่น ฮอทดอกและพริกกระป๋องที่อุ่นซ้ำและเก็บด้วยความร้อน
145°F
(เป็นเวลา 15 วินาที)
- ไข่
- อาหารทะเล
- เนื้อ
- เนื้อหมู
158°F
(ทันที)
- แฮมเบอร์เกอร์
- ไส้กรอก
165°F
(ทันที)
- เนื้อไก่ (เนื้อไก่ ไก่งวง และเป็ด)
- อาหารยัดไส้หรือไส้
- คาสเซอโรล
- อาหารทะเลดิบ เนื้อสัตว์ดิบ หรือไข่ดิบปรุงในไมโครเวฟ
- การควบคุมอุณหภูมิด้วยการอุ่นอาหารซ้ำเพื่อความปลอดภัย (TCS)
ปรุงอาหารให้สุกด้วยไมโครเวฟ
เมื่อปรุงอาหารทะเล เนื้อสัตว์ หรือไข่ดิบในไมโครเวฟ ให้ปรุงสุกที่อุณหภูมิอย่างน้อย 165 °F ปิดคลุมอาหารเพื่อรักษาความชื้น หมุนหรือคนอาหารอย่างน้อยหนึ่งครั้งขณะปรุงอาหาร ทิ้งให้อาหารคืนตัวก่อนเสิร์ฟ 2 นาที ใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิอาหารของคุณ ตรวจสอบหลาย ๆ จุดเพื่อให้แน่ใจว่าอาหารมีอุณหภูมิอย่างน้อย 165 °F อย่างทั่วถึง
คำแนะนำสำหรับผู้บริโภค
อาหารบางชนิด เช่น ซูชิ และไข่ อาจเสิร์ฟแบบดิบหรือปรุงแบบไม่สุก อาหารเหล่านี้อาจทำให้เกิดการเจ็บป่วยจากอาหารได้ แจ้งให้ลูกค้าทราบถึงความเสี่ยงด้วยการเขียนคำแนะนำผู้บริโภคในเมนู.
อย่าเสิร์ฟอาหารดิบหรืออาหารปรุงแบบไม่สุกแก่คนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีอาหารประเภทนี้ในเมนูสำหรับเด็ก
การใช้เทอร์โมมิเตอร์
คุณไม่สามารถบอกได้ว่าอาหารปรุงสุกแล้วหรือยังโดยดูจากสีหรือระยะเวลาที่ปรุงสุก การใช้เทอร์โมมิเตอร์เป็นวิธีเดียวที่จะบอกได้ว่าอาหารปรุงสุกเต็มที่หรือไม่
สถานประกอบการอาหารทุกแห่งต้องมีและใช้เครื่องวัดอุณหภูมิอาหารที่แม่นยำ ต้องมีแท่งโลหะบางเพื่อใช้วัดและสามารถอ่านอุณหภูมิได้ระหว่าง 0° ถึง 220 °F
ใช้เทอร์โมมิเตอร์อย่างถูกต้องเพื่อให้ได้อุณหภูมิที่แม่นยำ
ยกอาหารด้วยอุปกรณ์หรือนำออกจากพื้นที่การปรุงอาหาร อย่าวัดอาหารเมื่ออยู่บนพื้นที่การปรุงอาหาร
Poke the thermometer into the thickest part of the food. Wait until the temperature on the thermometer stops changing. This can take up to a minute.
ตรวจสอบเทอร์โมมิเตอร์ของคุณเพื่อให้แน่ใจว่ามีความแม่นยำ ใส่แท่งวัดเทอร์โมมิเตอร์ลงในถ้วยนแข็งบดและน้ำ ควรมีค่าอุณหภูมิ 32 องศาฟาเรนไฮต์ ปรับหรือเปลี่ยนเทอร์โมมิเตอร์หากไม่ขึ้นค่า 32°F
ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อเทอร์โมมิเตอร์ของคุณก่อนและหลังใช้เสมอ หลังจากทำความสะอาด เช็ดด้วยผ้าที่สะอาดหรือเช็ดด้วยแอลกอฮอล์
การรักษาความร้อน
อุ่นอาหารโดยมีการควบคุมอุณหภูมิเพื่อความปลอดภัย (TCS) ที่ 135°F หรือร้อนกว่านั้นจนกว่าจะเสริ์ฟหรือเย็นลงอย่างปลอดภัย สิ่งนี้เรียกว่าการรักษาความร้อน การปรุงอาหารให้สุกไม่ได้ฆ่าเชื้อแบคทีเรียทั้งหมด อาหารที่ปรุงสุกแล้วไม่ได้รับการรักษาความร้อน แบคทีเรียที่ไม่ตายสามารถเติบโตและทำให้คนป่วยได้
ใช้เครื่องวัดอุณหภูมิเพื่อตรวจสอบอุณหภูมิของอาหารร้อน
เคล็ดลับในการรักษาความร้อนของอาหาร:
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าถาดใส่อ่างอุ่นอาหารและเครื่องอุ่นอาหารร้อนก่อนใส่อาหาร
- ปิดคลุมอาหารและคนบ่อยๆ
- อย่าใส่อาหารที่เย็นลงในอาหารที่ร้อน
- ตรวจสอบอุณหภูมิของอาหารบ่อยๆ ด้วยเครื่องวัดอุณหภูมิอาหาร
อุ่นซ้ำเพื่อรักษาความร้อน
คุณสามารถอุ่นอาหารซ้ำและเสิร์ฟได้อีกครั้งหากอาหารถูกทำให้เย็นลงอย่างปลอดภัย อุ่นอาหารซ้ำอย่างรวดเร็วด้วยอุณหภูมิ 165 °F หรือสูงกว่านั้นภายใน 2 ชั่วโมง
-
ใช้วิธีการอุ่นอาหารซ้ำอย่างรวดเร็ว เช่น เตา เตาอบ หรือไมโครเวฟ
อย่าใช้ถาดใส่อ่างอุ่นอาหาร หม้อหุงที่ร้อน หรือเครื่องอุ่นอาหารเพื่ออุ่นอาหารซ้ำ สิ่งนี้จะใช้เวลานานเกินไปและทำให้แบคทีเรียเติบโตได้
-
ผัดอาหารบ่อยๆ ขณะอุ่นอาหารซ้ำ
ตรวจสอบอุณหภูมิในหลาย ๆ แห่งเพื่อตรวจสอบว่าอาหารได้รับการอุ่นโดยทั่วในอุณหภูมิ 165 องศาฟาเรนไฮต์
อุ่นซ้ำเพื่อให้บริการได้ทันที
หากคุณเสิร์ฟอาหารทันที คุณสามารถอุ่นอาหารที่อุณหภูมิใดก็ได้
การรักษาความเย็น
แช่เย็นอาหารโดยมีการควบคุมอุณหภูมิเพื่อความปลอดภัย (TCS) ที่ 41°F หรือเย็นกว่านั้น สิ่งนี้เรียกว่าการรักษาความเย็น แบคทีเรียเติบโตอย่างรวดเร็วเมื่ออาหารอยู่ช่วงอุณหภูมิที่เป็นเขตอันตราย เก็บอาหารเย็นไว้ในตู้เย็นหรือล้อมไว้ด้วยน้ำแข็ง
ใช้เครื่องวัดอุณหภูมิเพื่อตรวจสอบอุณหภูมิของอาหารแช่เย็น
เคล็ดลับในการรักษาความเย็นของอาหาร:
- อย่าเปิดประตูตู้เย็นให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
- ในการเตรียมแช่เย็น ให้ใช้ถาดที่ลึกกว่าอาหารและฝาปิดเพื่อช่วยดูดความเย็น อย่าใส่จนล้นกระทะ
- หากใช้น้ำแข็ง ให้ระดับน้ำแข็งให้สูงเท่ากับระดับอาหาร ล้อมภาชนะบรรจุอาหารให้ทั่ว
- ตรวจสอบอุณหภูมิบ่อยๆด้วยเครื่องวัดอุณหภูมิอาหาร
การทำละลาย
ละลายอาหารแช่แข็งอย่างปลอดภัยเพื่อไม่ให้แบคทีเรียเติบโต
อย่าละลายอาหารบนเคาน์เตอร์หรือที่อุณหภูมิห้อง
มีวิธีที่ปลอดภัยในการละลายอาหาร 3 วิธี:
ในตู้เย็น
นี่เป็นวิธีที่ดีที่สุด แต่อาจใช้เวลาสักพัก วางแผนล่วงหน้า
ในอ่างจัดเตรียมอาหาร
จุ่มอาหารใต้น้ำไหลเย็น อย่าใช้น้ำร้อน ปรุงอาหารทันทีหรือใส่ในตู้เย็นเมื่อละลายอาหารแล้ว
ในไมโครเวฟ
ปรุงอาหารทันทีหลังจากทำละลาย
การลงวันที่
แบคทีเรียบางชนิดยังคงเติบโตอย่างช้า ๆ ในอาหารแช่เย็น ลงวันที่ของอาหารเพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้เก็บไว้นานกว่า 7 วัน
ลงวันที่ของอาหารที่เก็บนานกว่า 24 ชั่วโมง
โดยเฉพาะอาหารจำพวกเนื้อแปรรูป ฮอทดอก อาหารทะเลรมควัน สลัด นม และชีสนิ่ม
คุณไม่จำเป็นต้องลงวันที่สำหรับ:
- อาหารที่ขายแบบผนึกซองที่ยังไม่ได้เปิด
- น้ำสลัด มายองเนส และสลัดเนื้อแปรรูป เช่น สลัดมันฝรั่งทีขายทั่วไป
- ของที่ยังไม่ได้ตัดแบ่ง
- ชีสแข็งอย่างพาเมซานและเอเชียโก
เสิร์ฟหรือทิ้งอาหารภายใน 7 วันหลังจากที่คุณเปิด
เมื่อคุณเปิดหรือเตรียมอาหารแช่เย็นพร้อมรับประทาน ให้ลงวันที่ทันที
เริ่มจากวันที่คุณเปิดหรือจัดเตรียมอาหารและนับไปอีก 6 วัน ตัวอย่าง:
- หากคุณเปิดอาหารวันที่ 12 ธ.ค. ให้นับเพิ่มไปอีก 6 วัน ใช้ภายในวันที่ 18 ธ.ค.
- หากคุณเปิดอาหารในวันศุกร์ ให้ใช้ภายในวันพฤหัสบดีของสัปดาห์ถัดไป
อย่านับวันที่อาหารถูกแช่แข็ง.
ติดฉลากที่อาหารพร้อมระบุวันที่แช่แข็งและวันที่นำกลับเข้าไปในตู้เย็น เสิร์ฟหรือทิ้งอาหารที่อยู่ในตู้เย็นเป็นเวลา 7 วัน ตัวอย่าง:
- หากคุณแช่เย็นอาหารเป็นเวลา 2 วันแล้วนำไปแช่แข็ง คุณสามารถนำกลับมาแช่เย็นไว้ได้อีก 5 วันก่อนที่จะทิ้ง
คุณสามารถลงวันที่กับอาหารได้หลายวิธี แต่ควรทำให้ทุกคนเข้าใจและนำไปใช้ได้ง่าย แช่อาหารเหล่านี้ที่อุณหภูมิ 41°F หรือต่ำกว่านั้นเสมอ
การแช่เย็น
คุณสามารถปรุงอาหารและแช่เย็นเพื่อเสิร์ฟในภายหลัง สิ่งที่สำคัญคือต้องทำให้อาหารเย็นลงอย่างรวดเร็ว เมื่ออาหารเย็นลง อาหารจะผ่านแดนอันตราย หากเย็นไม่เร็วพอ แบคทีเรียสามารถเติบโตและทำให้เกิดโรคที่เกิดจากอาหารได้ แบคทีเรียบางชนิดมีพิษหรือสารพิษที่ไม่สามารถหมดฤทธิ์จากการปรุงสุกได้
แช่เย็นอาหารจาก 135 °F ถึง 41 °F ภายใน 6 ชั่วโมง ต้องแช่เย็นอาหารในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 70 องศาฟาเรนไฮต์ภายใน 2 ชั่วโมงแรก
ตรวจสอบอุณหภูมิของอาหารและตรวจสอบว่าอาหารถูกลดอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว
มีวิธีในการทำให้อาหารเย็นลงอย่างรวดเร็วหลายวิธี
กระทะก้นแบน
การระบายความร้อนด้วยกระทะก้นแบนใช้ได้ดีกับอาหาร เช่น ถั่วผัดซ้ำ ข้าว มันฝรั่ง เนื้อบด แคสเซอโรล อาหารต้ม และน้ำซุป
Tips for shallow pan cooling: เคล็ดลับสำหรับการระบายความร้อนด้วยกระทะก้นแบน:
- ใส่อาหารร้อนลงในกระทะก้นแบน
- อาหารต้องมีความสูงไม่เกิน 2 นิ้ว
- ทิ้งอาหารทิ้งไว้โดยไม่ต้องปิดเพื่อให้ความร้อนระบายออกได้อย่างรวดเร็ว
- แช่เย็นอาหารทันที
- แช่เย็นที่ชั้นบนสุดเพื่อไม่ให้มีอะไรตกใส่อาหารที่ไม่ได้ปิดคลุม
- อย่าวางซ้อนหรือปิดคลุมอาหารแช่เย็น
- แช่เย็นในห้องเย็นหรือตู้เย็นที่ใหญ่ที่สุดของคุณ
ตรวจสอบอาหารด้วยเครื่องวัดอุณหภูมิอาหาร คุณสามารถปิดคลุมหรือรวมกระทะได้เมื่ออาหารมีอุณหภูมิถึง 41°F หรือต่ำกว่านั้น
ลดขนาดของชิ้นเนื้อ
หั่นเนื้อทั้งหมด เช่น เนื้อย่าง หรือแฮม เป็นชิ้นหนาขนาด 4 นิ้ว อย่าใช้วิธีนี้กับเนื้อบด เช่น ขนมปังเนื้อหรือ เนื้อไจโร
เคล็ดลับในการทำให้เนื้อขนาดใหญ่เย็นลง:
- วางเนื้อหั่นเป็นชั้นเดียวบนถาด
- ทำให้อากาศไหลเวียนได้สะดวก
- เปิดอาหารทิ้งไว้เพื่อให้ความร้อนถูกระบายได้อย่างรวดเร็ว
- แช่เย็นอาหารทันที
- แช่เย็นที่ชั้นบนสุดเพื่อไม่ให้มีอะไรตกใส่อาหาร
ตรวจสอบให้แน่ใจว่าอาหารเย็นลงอย่างรวดเร็ว
ใช้บันทึกอุณหภูมิ ทิ้งอาหารหากเย็นไม่เร็วพอ
แช่เย็นจาก:
135°F ลงมาถึง 70°F ภายใน 2 ชั่วโมง
135°F ลงมาถึง 41°F ภายใน 6 ชั่วโมง
เคล็ดลับในการทำให้อาหารเย็นลงอย่างรวดเร็ว:
- วางอาหารในอ่างน้ำแข็ง ล้อมอาหาร ด้วยน้ำแข็ง คนบ่อย ๆ
- ใช้ไม้พายน้ำแข็งหรือแท่งน้ำแข็งเพื่อคนอาหาร
- ใช้ภาชนะบาง ๆ เพื่อให้ความร้อนถูกระบายออก
- ทำให้อาหารเย็นในกระทะโลหะ พลาสติกหรือแก้วไม่ช่วยให้ อาหารเย็นเร็ว
- เติมน้ำแข็งที่สะอาดลงในอาหาร
- ใช้อุปกรณ์พิเศษเช่นเครื่องทำความเย็นแบบรวดเร็ว
แช่เย็นอาหารหลังจัดเตรียม
อาหารอย่างผักกาด มะเขือเทศ หรืออาหารกระป๋องอาจเริ่มที่อุณหภูมิห้อง แช่อาหารให้เย็นในอุณหภูมิ 41°F ภายใน 4 ชั่วโมง
โปรดจำไว้!
สวมถุงมือหรือใช้อุปกรณ์ช่วยเมื่อต้องจัดการกับอาหารที่ปรุงสุกเสมอ
การปนเปื้อนข้ามประเภท
เนื้อดิบ เช่น เนื้อวัว เนื้อสัตว์ปีก อาหารทะเลและไข่อาจมีเชื้อโรค การปนเปื้อนข้ามประเภทเกิดขึ้นเมื่อเชื้อโรคจากเนื้อดิบไปอยู่ในอาหารอื่น การรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรคจากเนื้อดิบอาจทำให้เกิดการเจ็บป่วยจากอาหารได้
แยกเนื้อดิบออกจากอาหารอื่นๆ
เก็บเนื้อดิบไว้ใต้อาหารอื่น ๆ ในตู้เย็น
เก็บเนื้อดิบไว้บนชั้นวางโดยเรียงตามลำดับอุณหภูมิการปรุงอาหาร ยิ่งอุณหภูมิที่ต้องใช้ในการปรุงอาหารสูง ให้วางในชั้นที่ต่ำกว่า เก็บปลาดิบและไข่ให้สูงกว่าเนื้อและหมูบด เก็บเนื้อไก่และสัตว์ปีกไว้ด้านล่าง
อาหารพร้อมรับประทาน
ปลาดิบและไข่
เนื้อหมูหรือวัวแบบสับและแล่
เนื้อสัตว์ปีกดิบ
เตรียมเนื้อดิบให้ห่างจากอาหารอื่นๆ
ใช้เขียงและเครื่องใช้แยกจากกัน เตรียมเนื้อดิบและจัดเตรียมในอ่างแยก
ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อหลังจากที่คุณจัดเตรียมเนื้อดิบ
เลือดหรือน้ำจากเนื้อดิบอาจไปโดนพื้นผิวและอาหารอื่นๆ ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบริเวณเคาน์เตอร์ เขียง อ่างล้างจาน และเครื่องใช้หลังจากที่คุณเตรียมเนื้อดิบ
การล้างอาหาร
อาหารอาจมีเชื้อโรค ฝุ่น และยาฆ่าแมลงอยู่ที่พื้นผิวภายนอก
ล้างอาหารก่อนเตรียม แม้ว่าจะเอาไปทำสุกก็ตาม
ล้างออกด้วยน้ำไหลเย็น ห้ามใช้สบู่
ล้างอาหาร เช่น อะโวคาโดและแตง แม้ว่าคุณไม่ได้กินเปลือก มีดสามารถนำเชื้อโรคและฝุ่นจากภายนอกสู่ด้านในของอาหารได้
ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อพื้นผิวการทำงานที่สัมผัสวัตถุดิบ.
เก็บอาหารที่ยังไม่ได้ล้างแยกจากอาหารที่ล้างแล้ว เก็บอาหารที่ยังไม่ได้ล้างไว้ต่ำกว่าอาหารพร้อมรับประทาน
แหล่งอาหารที่ปลอดภัย
อาหารต้องมาจากแหล่งที่ปลอดภัยที่ได้รับอนุมัติจากกรมอนามัย เตรียมอาหารในสถานประกอบการด้านอาหารเท่านั้น อย่าทำอาหารที่บ้าน
หอย
หอย เช่น หอยกาบ หอยนางรม หรือหอยแมลงภู่ ต้องมาจากผู้จัดหาวัตถุดิบที่ได้รับอนุญาต
ติดป้ายระบุรายละเอียดสิ่งของที่ภาชนะ
ป้ายแสดงสถานที่ที่เก็บหอยมา บันทึกการเสิร์ฟหอยวันแรกและวันสุดท้าย เก็บป้ายไว้ 90 วัน
เห็ดป่า
เห็ดป่าจะต้องมีรายละเอียดสถานที่ที่เก็บมา เก็บข้อมูลแหล่งที่มาไว้ 90 วัน
การส่งอาหาร
ตรวจสอบอาหารเสมอเมื่อส่ง
ตรวจสอบให้แน่ใจว่า:
- อาหารไม่เน่าเสีย
- กระป๋องไม่บุบหรือชำรุด
- บรรจุภัณฑ์ถูกปิดผนึก
- อาหารแช่เย็นมีอุณหภูมิ 41°F หรือต่ำกว่านั้น
- อาหารแช่แข็งอยู่ในสถานะแช่แข็ง
- อาหารอยู่ในสภาพดี
การแพ้อาหาร
อาหารบางชนิดอาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้ การแพ้อาหารอาจรุนแรงมาก ในบางกรณี อาการแพ้เป็นอันตรายถึงชีวิต.
อาการแพ้อาจทำให้เกิด:
- ความรู้สึกชา
- ลมพิษ
- อาเจียน
- หน้า, ลิ้น หรือลำคอบวม
- หายใจลำบาก
- หมดสติ หรือเสียชีวิต
สิ่งสำคัญคือต้องรู้ถึงส่วนผสมที่สถานประกอบการของคุณใช้.
ลูกค้าอาจถามคุณเกี่ยวกับส่วนผสมเพื่อหลีกเลี่ยงส่วนผสมเหล่านี้ ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนผสมนั้น แม้เพียงปริมาณเล็กน้อยก็สามารถทำให้บางคนป่วยหนักได้
ตัวอย่าง
คนที่แพ้ไข่ต้อง หลีกเลี่ยงเค้ก พาสต้า และมายองเนส
แยกไว้ต่างหาก
บอกเชฟว่าลูกค้าแจ้งการแพ้อาหารหรือไม่ ถุงมือ ภาชนะ อุปกรณ์ และพื้นผิวสามารถแพร่สารก่อภูมิแพ้ไปที่อาหารอื่น ๆ ได้
สารก่อภูมิแพ้ในอาหารที่พบบ่อยที่สุด:
- นม
- ไข่
- ปลา
- ถั่วเปลือกแข็ง
- ข้าวสาลี
- ถั่ว
- ถั่วเหลือง
- หอย
- งา
ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ
การทำความสะอาดและการฆ่าเชื้อไม่เหมือนกัน
การทำความสะอาด การทำความสะอาด ใช้สบู่และน้ำเพื่อทำความสะอาดอาหาร ฝุ่น และไขมัน e.
พื้นผิวอาจดูสะอาดแต่ยังมีเชื้อโรคที่คุณมองไม่เห็น
การฆ่าเชื้อ ใช้สารเคมีหรือความร้อนเพื่อฆ่าเชื้อโรค
น้ำยาฆ่าเชื้อที่ได้รับการรับรอง
- คลอรีน บลีช
- ควอเทอร์นารีแอมโมเนียม
- ไอโอดีน
มีน้ำยาฆ่าเชื้ออื่น ๆ จำหน่าย
ปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากเสมอ
วัดความเข้มข้นทุกครั้งเมื่อผสมน้ำยาฆ่าเชื้อ
อย่าเพิ่มสบู่ สบู่จะลดฤทธิ์น้ำยาฆ่าเชื้อจากการฆ่าเชื้อโรค น้ำยาฆ่าเชื้อทั่วไปคือคลอรีน บลีช 1 ช้อนชาต่อน้ำหนึ่งแกลลอน
ตรวจสอบความเข้มข้นของน้ำยาฆ่าเชื้อ
ใช้แถบทดสอบเพื่อตรวจสอบว่าน้ำยาฆ่าเชื้อมีความเข้มข้นถูกต้อง
ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อทีละอย่าง
ฆ่าเชื้อที่พื้นผิวก่อนและหลังคุณเตรียมเนื้อดิบและอาหารพร้อมรับประทาน
เก็บผ้าเช็ดในน้ำยาฆ่าเชื้อ
สิ่งนี้ช่วยยับยั้งไม่ให้เชื้อโรคเติบโตบนผ้า
ทำน้ำยาฆ่าเชื้อบ่อยๆ p>
มันจะหยุดทำงานเมื่อเวลาผ่านไป เปลี่ยนน้ำยาฆ่าเชื้อหากดูสกปรกหรือขุ่น
การล้างจาน
ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อจาน ภาชนะ และเครื่องมือเครื่องใช้ ทำความสะอาดจานด้วยมือในอ่างล้างจาน 3 ช่องหรือใช้เครื่องล้างจาน
ทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
เคล็ดลับการใช้เครื่องล้างจาน
- กวาดเศษอาหารและไขมันลงในถังขยะ
- เครื่องล้างจานจะใช้ความร้อนหรือสารเคมีเพื่อฆ่าเชื้อ ใช้แถบทดสอบเพื่อตรวจสอบว่าเครื่องฆ่าเชื้อได้อย่างถูกต้อง
- ผึ่งจานให้แห้งก่อนที่จะนำไปเก็บ
โต๊ะเตรียมอาหารและอุปกรณ์ขนาดใหญ่
อุปกรณ์ทุกชิ้นไม่สามารถนำมาล้างในเครื่องล้างจานหรืออ่างล้างจาน 3 ช่องได้ .
ขั้นตอนในการทำความสะอาดและฆ่าเชื้ออุปกรณ์อื่น ๆ:
- ขัดด้วยน้ำร้อนที่เป็นน้ำสบู่
- ล้างด้วยน้ำสะอาด
- เช็ดด้วยผ้าสะอาดชุบน้ำยาฆ่าเชื้อ
- Aผึ่งให้แห้ง
ทำความสะอาดพื้นผิวที่สัมผัสกับอาหารทุก 4 ชั่วโมง อย่ารอจนสิ้นสุดวันนั้น
การทำความสะอาดอาเจียนและอุจจาระ
การทำความสะอาดอาเจียนและอุจจาระจะแตกต่างจากการทำความสะอาดทั่วไป คุณอาจป่วยหรือแพร่กระจายโรคให้ผู้อื่นหากคุณไม่ทำความสะอาดอย่างถูกวิธี
สถานประกอบการอาหารจะต้องมีขั้นตอนการทำงานอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
คนทำงานด้านอาหารจะต้องรู้และปฏิบัติตามขั้นตอนการทำงานเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคแพร่ไปยังผู้คน เครื่องมือ หรืออาหาร
ทำความสะอาดอาเจียนและอุจจาระอย่างเร็ว
แผนที่ดีประกอบด้วย:
- นำลูกค้าและพนักงานออกจาบริเวณนั้น
- ปิดกั้นพื้นที่นั้น
- ใช้ถุงมือ หน้ากาก ที่หุ้มรองเท้า และชุดกันเปื้อนแบบใช้แล้วทิ้ง
- ทำความสะอาดด้วยกระดาษและทิ้งในถังขยะ
- ใช้น้ำสบู่เพื่อทำความสะอาด
- ฆ่าเชื้อด้วยสารฆ่าเชื้อที่ได้รับการรับรอง
- ทิ้งอาหารหรืออุปกรณ์ที่ใช้แล้วทิ้งในพื้นที่นั้น
- เชื้อโรคสามารถแพร่กระจายได้ไกล ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อภาชนะและเครื่องมือที่อยู่ในบริเวณ 25 ฟุต
- ทิ้งหรือทำความสะอาดทุกอย่างที่ใช้ในการทำความสะอาด ทิ้งน้ำยาฆ่าเชื้อ
- . ทิ้งขยะลงถังทันที
- ล้างมือและแขนให้สะอาดให้ทั่วหลังจากนั้น
- กลับบ้านและอาบน้ำหากเป็นไปได้
เลือกสารฆ่าเชื้อที่เหมาะสม
- สารฆ่าเชื้อจะต่างจากน้ำยาฆ่าเชื้อ
- อย่าใช้น้ำยาฆ่าเชื้อในห้องครัวของคุณ
- ใช้สารฆ่าเชื้อที่ฆ่าโนโรไวรัส
- ปฏิบัติตามคำแนะนำในการใช้งานบนฉลาก
อยากเอาของในครัวมาทำความสะอาดหากเป็นไปได้
การป้องกันอาหาร
เพื่อสิ่งสำคัญที่ต้องปกป้องอาหารจากการปนเปื้อน การรับประทาน การดื่ม การสูบบุหรี่ หรือของใช้ส่วนตัวอาจทำให้อาการปนเปื้อนได้
เคล็ดลับในการปกป้องอาหาร:
- รับประทานหรือดื่มน้ำห่างจากอาหารและพื้นที่เตรียมอาหาร
- อย่าสูบบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า หรือใช้ยาสูบในห้องครัว
- ดื่มน้ำจากภาชนะที่ปิด เก็บไว้ในที่ที่น้ำจะไม่หกใส่อาหารหรือพื้นที่ปฏิบัติงาน
- มัดผมไว้ด้านหลัง ทำผมให้สั้น หรือคลุมด้วยตาข่ายคลุมผม
- อย่าสวมเครื่องประดับ คุณสามารถสวมแหวนวงเดียวหรือชุดเครื่องประดับสำหรับเจ้าสาว แต่ต้องใส่ถุงมือ
- เก็บของใช้ส่วนตัว เช่นโทรศัพท์มือถือหรือเสื้อโค๊ท ให้ห่างจากพื้นที่เตรียมอาหาร
- เก็บเฉพาะยาที่จำเป็นในสถานที่เก็บอาหาร
- ติดฉลากที่ยา เก็บให้ห่างจากอาหารและพื้นที่เตรียมอาหาร
- เก็บยาไว้ในที่แช่เย็นและภาชนะที่ป้องกันการรั่วไหล ติดฉลากที่บรรจุภัณฑ์
- จำกัดพื้นที่อาหารส่วนตัว ติดฉลากและเก็บไว้ในที่ที่จะไม่ปนเปื้อนกับอาหารของลูกค้า
ปกป้องอาหารที่บาร์สลัดและบุฟเฟต์
จัดหา:
- ใช้ภาชนะสำหรับของแต่ละอย่างแยกกัน
- ทำความสะอาดถาดเมื่อถูกนำไปใช้ตักสลัดหรือบุฟเฟต์
- ใส่ที่กันจาม
- มีพนักงานตรวจสอบอาหาร
ป้องกันอาหารในส่วนบริการตนเอง ใช้ที่กดเครื่องปรุงหรือซองเครื่องปรุงแบบใช้ครั้งเดียว
อย่าเสิร์ฟอาหารซ้ำ
ทิ้งอาหารที่ลูกค้าทิ้งไว้ เช่น แป้งตอร์ติญา หรือแท่งขนมปัง คุณอาจเสริ์ฟอาหารที่ยังไม่เปิดซองและอยู่ในบรรจุภัณฑ์ได้ เช่นแครกเกอร์หรือน้ำตาล
ทำให้อาหารปลอดภัยเสมอ
- อย่าเก็บอาหารไว้ข้างนอก
- ล็อกตู้เย็นและพื้นที่จัดเก็บที่ไม่ได้ใช้
- คอยระมัดระวัง รายงานทันทีหากพบว่าอาหารอาจถูกเปิดออก
การควบคุมสัตว์รบกวน
แมลงต่าง ๆ เช่นแมลงวัน, แมลงสาบ, และหนู เป็นตัวแพร่เชื้อโรค
อย่าปล่อยให้มีสัตว์รบกวนเข้ามา
ปิดหรือวางที่กั้นประตูหรือหน้าต่างเสมอ
ใช้ถังขยะที่มีฝาที่ปิดสนิท
ทำให้พื้นที่ทิ้งขยะสะอาด
ทำความสะอาดสม่ำเสมอและคอยปิดคลุมอาหาร
สัตว์รบกวนคอยหาอาหารเสมอ ทำให้พื้นที่ต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงพื้นและผนังสะอาดและแห้งเสมอ หากสัตว์รบกวนไม่สามารถหาของกินหรือดื่มได้ พวกมันมักจะไม่อยู่ที่นั่น .
ดูสัญญาณของสัตว์รบกวนเช่นเศษบรรจุภัณฑ์ที่ตกหล่นหรือถูกกัดเคี้ยว
หากคุณมีปัญหาเรื่องสัตว์รบกวน ติดต่อผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับใบอนุญาต อย่าใช้ยากันแมลงที่ใช้ในบ้าน.
เหตุฉุกเฉิน
สถานการณ์บางอย่างไม่ปลอดภัยที่จะเตรียมหรือเสิร์ฟอาหาร คุณจำเป็นจะต้องปิดจนกว่าจะแก้ปัญหาเสร็จ
ติดต่อกรมสุขภาพเพื่อรับความช่วยเหลือกรณี:
- ไฟดับ
- ไม่มีน้ำร้อนหรือไม่มีน้ำเลย
- น้ำเสียไหลกลับ
- ไฟไหม้
- น้ำท่วม
- ตู้เย็นหรือห้องเย็นไม่รักษาความเย็นอาหาร
- อุปกรณ์สำคัญไม่ทำงาน
- การปนเปื้อนสารเคมี
- โรคระบาดที่เป็นไปได้ว่าจะมาจากอาหาร
- พนักงานที่อาเจียนหรือท้องเสียในที่ทำงาน
- สิ่งใดก็ตามที่ทำให้การเตรียมอาหารอย่างปลอดภัยทำได้ยาก
หลังจากเหตุฉุกเฉิน อาหารอาจไม่ปลอดภัยหากจะนำไปเสิร์ฟ
ตรวจสอบอาหาร ทิ้งไปหาก:
- อาหารปนเปื้อน
- อุ่นเกิน 41°F
- เย็นเกิน 135°F